การรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีการเคมีบำบัด หรือคีโม (Chemotherapy)
การรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีการใช้ยามุ่งเป้า (Tageted Therapy)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
รศ. นพ.เอกภพ สิระชัยนันท์
สาขาวิชามะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล
ทำความรู้จักกับ Tageted Therapy
ในปัจจุบันการรักษาด้วยวิธี targeted therapy ส่วนใหญ่จะใช้ในผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม หรืออาจใช้เป็นการรักษาเสริมภายหลังการผ่าตัดโดยร่วมกับเคมีบำบัดหรือร่วมกับการฉายรังสีเพื่อรักษามะเร็งให้หายขาด
อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยวิธีนี้ยังมีราคาค่อนข้างสูงและยังไม่สามารถใช้รักษาโรคมะเร็งได้ทุกชนิด รวมถึงไม่สามารถใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งได้ทุกราย เนื่องจากมะเร็งบางชนิดจำเป็นต้องมียีนที่ตอบสนองต่อยา แพทย์จึงต้องทำการตรวจผู้ป่วยก่อนว่ามียีนที่สามารถใช้สำหรับการรักษาด้วย targeted therapy ได้หรือไม่
การรักษาโรคมะเร็งแบบ targeted therapy จึงอาจช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งบางชนิดมีชีวิตยืนยาวขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ในทางการแพทย์ก็ยังคงมีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ targeted therapy ต่อไปเรื่อยๆ การรักษาแบบ targeted therapy จึงนับว่าเป็นความหวังของการรักษาที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีกำลังใจสู้กับโรคต่อไป
ในปัจจุบัน targeted therapy สามารถใช้ในการรักษาโรคมะเร็งได้หลายชนิด อาทิ
- มะเร็งปอด
- มะเร็งตับ
- มะเร็งไต
- มะเร็งลำไส้ใหญ่
- มะเร็งเต้านม
- มะเร็งรังไข่
- มะเร็งศีรษะและลำคอ
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์